บทความ

ใบความรู้ที่ 3 ชุดที่ 1 เรื่อง ภาษท่า

รูปภาพ
ใบความรู้ที่ 3 ชุดที่ 1 เรื่อง ภาษท่า ภาษาท่า คือ การใช้ท่าทางสื่อความหมายในการแสดง ท่าที่ 1 ท่ายืน   เป็นการแสดงอิริยาบถของการยืน                         ตัวพระ  ปลายเท้าซ้ายล้ำเท้าขวาเล็กน้อย โดยเท้าขวารับน้ำหนัก มือซ้ายวางแนบกับ ขาซ้าย มือขวาเท้าซะเอว เอียงศีรษะด้านขวา                         ตัวนาง  ปลายเท้าซ้ายล้ำเท้าขวาเล็กน้อย โดยเท้าขวารับน้ำหนัก มือซ้ายวางแนบกับขาซ้าย มือขวาจีบหงายที่ชายพก เอียงศีรษะด้านขวา ท่าที่ 2 ท่าเดิน  เป็นการแสดงอิริยาบถของการเดิน                                 ตัวพระ  มือทั้งสองจีบคว่ำข้างลำตัว ก้าวเท้าซ้าย เอียงศีรษะด้านขวา ก้าวเท้าซ้าย  ไปข้างหน้าพร้อมคลายจีบออก ตั้งมือและหักข้อมือขึ้น มือขวาอยู่ระดับชายพก มือซ้ายเหยียดแขนตึงไว้ข้างลำตัว                               ตัวนาง  มือทั้งสองจีบคว่ำข้างลำตัว ก้าวเท้าซ้าย เอียงศีรษะด้านขวา ก้าวเท้าซ้าย ขณะที่ก้าวให้หยิบจีบคว่ำข้างลำตัวพร้อมปล่อยจีบเป็นตั้งมือขึ้น มือขวาอยู่ระดับชายพก มือซ้ายเหยียดแขนดึงไว้ข้างลำตัว       ท่าที่ 3

ใบความรู้ที่ 2 ชุดที่ 1 เรื่อง นาฏยศัพท์

รูปภาพ
ใบความรู้ที่ 2 ชุดที่ 1 เรื่อง นาฏยศัพท์ นาฏยศัพท์   หมายถึง   ศัพท์ที่เกี่ยวกับลักษณะท่ารำที่ใช้ในการถ่ายทอดและฝึกหัดในการรำ นาฏศิลป์ไทย   ซึ่งจะใช้คำนาฏศัพท์เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดท่ารำ     ซึ่งนักเรียนจะต้องเป็นผู้ที่รู้จัก ในเรื่องของนาฏยศัพท์มาแล้ว   จะทำให้การสื่อสารระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปอย่างราบรื่น  นาฏยศัพท์ที่ควรทราบในพื้นฐานเบื้องต้น   มีดังนี้ ภาพที่ 1 ตั้งวง             เป็นลักษณะของลำแขนที่ทอดโค้ง  ปลายนิ้วตั้งขึ้น   นิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกัน   นิ้วหัวแม่มือหักเข้าหาฝ่ามือเล็กน้อย   หักข้อมือเข้าหาลำแขน ภาพที่ 2 วงบน                      ตัวพระและตัวนางจะแตกต่างกัน   ตัวพระวงบนจะอยู่ระดับแง่ศีรษะ (ขมับ)   ส่วนโค้งของ ลำแขนจะกว้าง    ส่วนวงบนตัวนางจะอยู่ระดับหางคิ้ว    ส่วนโค้งของลำแขนจะแคบกว่าตัวพระ   แล้วหักข้อมือเข้าหาลำแขน   ภาพที่ 3 วงกลาง               เป็นการตั้งวงโดยยกส่วนโค้งของลำแขนขึ้น   ให้ปลายนิ้วสูงระดับไหล่   ตัวพระ   ลำแขน     จะผายออกทางด้านข้าง   ตัวนางลำแขนจะหุบเ