ใบความรู้ที่ 3 ชุดที่ 1 เรื่อง ภาษท่า


ใบความรู้ที่ 3
ชุดที่ 1 เรื่อง ภาษท่า

ภาษาท่า คือ การใช้ท่าทางสื่อความหมายในการแสดง


ท่าที่ 1 ท่ายืน

 เป็นการแสดงอิริยาบถของการยืน
                        ตัวพระ  ปลายเท้าซ้ายล้ำเท้าขวาเล็กน้อย โดยเท้าขวารับน้ำหนัก มือซ้ายวางแนบกับ ขาซ้าย มือขวาเท้าซะเอว เอียงศีรษะด้านขวา
                        ตัวนาง  ปลายเท้าซ้ายล้ำเท้าขวาเล็กน้อย โดยเท้าขวารับน้ำหนัก มือซ้ายวางแนบกับขาซ้าย มือขวาจีบหงายที่ชายพก เอียงศีรษะด้านขวา


ท่าที่ 2 ท่าเดิน 

เป็นการแสดงอิริยาบถของการเดิน
                                ตัวพระ  มือทั้งสองจีบคว่ำข้างลำตัว ก้าวเท้าซ้าย เอียงศีรษะด้านขวา ก้าวเท้าซ้าย  ไปข้างหน้าพร้อมคลายจีบออก ตั้งมือและหักข้อมือขึ้น มือขวาอยู่ระดับชายพก มือซ้ายเหยียดแขนตึงไว้ข้างลำตัว
                              ตัวนาง  มือทั้งสองจีบคว่ำข้างลำตัว ก้าวเท้าซ้าย เอียงศีรษะด้านขวา ก้าวเท้าซ้าย ขณะที่ก้าวให้หยิบจีบคว่ำข้างลำตัวพร้อมปล่อยจีบเป็นตั้งมือขึ้น มือขวาอยู่ระดับชายพก มือซ้ายเหยียดแขนดึงไว้ข้างลำตัว


 
 



 ท่าที่ 3 ตัวเรา 

เป็นภาษาท่าที่แสดงแทนคำพูด เพื่อแนะนำตนเอง
                                ตัวพระ  ใช้มือซ้ายจีบที่อก เท้าซ้ายล้ำหน้าเท้าขวาเล็กน้อย เท้าขวายืนเป็นหลัก น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวา มือขวาเท้าสะเอว เอียงศีรษะขวา
                                ตัวนาง  ใช้มือซ้ายจีบที่อก  เท้าขวายืนเป็นหลัก เท้าซ้ายล้ำหน้าเท้าขวาเล็กน้อย มือขวาเท้าสะเอวหรือจีบส่งหลัง เอียงศีรษะขวา
  



 
 

ท่าที่ 4 ยิ้ม 

เป็นภาษาท่าที่แสดงอารมณ์ว่า ยินดี ดีใจ ยิ้ม
              ในวงการแสดงนาฏศิลป์ต้องเอามือซ้ายจีบมาไว้ที่ปากเท่านั้น ไม่นิยมใช้มือขวา (โดยปฏิบัติเช่นกัน ทั้งตัวพระและตัวนาง)



                                                                 

 ท่าที่ 5 รัก

เป็นการแสดงอารมณ์ว่ามีความรัก ความชื่นชม โดยการประสานมือทั้งสองข้าง    ทาบที่ฐานไหล่
(โดยปฏิบัติเช่นกันทั้งตัวพระและตัวนาง)

 

ท่าที่ 6 ตัวท่าน 

เป็นภาษาที่แสดงแทนคำพูด กล่าวถึงบุรุษที่ 2
                                ตัวพระ  ก้าวข้างด้วยเท้าซ้าย น้ำหนักตัวอยู่ขาขวา ยกมือซ้ายตะแคงระดับหน้า มือขวา  เท้าสะเอว 
หันหน้ามองผู้ที่กล่าวถึง
                                ตัวนาง  ก้าวไขว้เท้าขวา ยกมือซ้ายตะแคงระดับหน้า มือขวาจีบส่งหลัง หาหน้ามองผู้ที่กล่าวถึง
                                     

 

ท่าที่ 7 ปฏิเสธ


เป็นภาษาท่าที่แสดงความหมายปฏิเสธ ไม่มี ไม่เอา ไม่ใช่ ไม่รู้ ไม่กลัว
                ทั้งตัวพระและตัวนาง มือขวาทอดแจนไปข้างลำตัวแขนตึงตั้งข้อมือขึ้น หันฝ่ามือออก ด้านนอก มือขวาเท้าสะเอว



ท่าที่ 8 ขอเชิญ

เป็นภาษาท่าที่มีความหมายเชื้อเชิญ ต้อนรับ
                                ทั้งตัวพระและตัวนาง มือแบหงายขึ้นทั้งสองข้างมือหนึ่งยกระดับอก อีกมือหนึ่งยกระดับปาก
                                      



ท่าที่ ความสุข

เป็นการแสดงถึงอารมณ์ว่ามีความสุข
                                ทั้งตัวพระและตัวนาง กางแขนออกเหยียดตึงระดับไหล่ ปลายนิ้วชี้ขึ้น ตัวพระเท้าขวายืนเป็นหลัก น้ำหนักตัวอยู่เท้าขวา ตัวนางเท้าซายล้ำหน้าเท้าขวาเล็กน้อย
                                     


                                                
 ท่าที่ 10 ปกเกล้า   ร่มเย็น


ท่าที่ 11 ค้ำจุน
 


ท่าที่ 12 ชวนใจ  ใฝ่ฝัน  เอ็นดู  คิดถึง

ท่าที่ 13 เห็น ประจักษ์


ท่าที่ 14 ได้ยิน  รู้  ฟัง  ไพเราะ 



ท่าที่ 15 พูด กิน


ท่าที่ 16 เป็นใหญ่  มีศักดิ์  มีฤทธิ์  สวยงาม
 

 ท่าที่ 17 ประณีต   ดอกไม้

  ท่าที่ 18 ตาย  ฉิบหาย  หมดสูญ

ท่าที่ 19 ล้อมวง เขตขัณฑ์


 ท่าที่ 20 เขากวาง   วงพระจันทร์
 

 ท่าที่ 21 แต่ก่อน


ท่าที่ 22 ร้อยดอกไม้

 ท่าที่ 23 เสียดสี


ท่าที่ 24 เทิดทูน ยกไว้

 ท่าที่ 25 อวยพร ยกพล ก่อสร้าง



 ท่าที่ 26 ประชุม พร้อมเพรียง




ท่าที่ 27 กล้าหาญ ทดลอง กล้าดี หมายสู้



เอกสารอ้างอิง
 โกสุม  สายใจและคณะ.  (2549).  สุนทรียภาพของชีวิต.  พิมพ์ครั้งที่ 10.  กรุงเทพมหานคร :     
                        มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.
สุดใจ  ทศพร.  (2546).  หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ                                                   ดนตรี – นาฏศิลป์  ม.1.  กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
เรณู  โกศินานนท์.  (2546).  นาฏยศัพท์-ภาษาท่าทางนาฏศิลป์  (พิมพ์ครั้งที่ 2).  กรุงเทพมหานคร :
                        บริษัท โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
อมรา  กล่ำเจริญ.  (2531).  สุนทรียนาฏศิลป์ไทย  (พิมพ์ครั้งที่ 2).  กรุงเทพมหานคร :
        โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
อัญชญา  มีภู่.  (2553).  พื้นฐานนาฏศิลป์ไทยเบื้องต้น (เล่มที่ 1).  เข้าถึงได้จาก :                                                                                                      https://www.gotoknow.org/posts/376103    
                               (วันที่ค้นข้อมูล 10  กุมภาพันธ์  2557).
ครูอัษ.  (2554).  นาฎยศัพท์เข้าถึงได้จาก :
                          http://www.oknation.net/blog/assada999/2011/07/27/entry-1
                                     (วันที่ค้นข้อมูล10  กุมภาพันธ์  2557).   









ความคิดเห็น

  1. The King Casino - CommunityKhabar
    The King Casino is the only casino near the communitykhabar casino. 토토 사이트 All wooricasinos.info casino games are kadangpintar legal and the sol.edu.kg game variety is huge! The games are also available at any of the

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใบความรู้ที่ 2 ชุดที่ 1 เรื่อง นาฏยศัพท์

ใบความรู้ที่ 1 ชุดที่ 1 เรื่อง นาฏยศัพท์ (ที่มาของนาฏศิลป์ไทย)